เรียนเก่ง อย่างเดียว เจ๋งไม่เท่าคิดเป็น Computational Thinking

“เพราะ CodeKids เชื่อว่า… เด็กที่เขียนโปรแกรมได้กับเด็กเรียนเก่งเป็นย่อมแตกต่างกัน”

วงการโปรเเกรมเมอร์ มักถูกสอน..ต่อมากันมาว่า โปรแกรมจะประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งอาศัยต้องหลัก การคิดแบบ Computational Thinking การคิดเชิงคำนวณหัว ใจหลักของวิชาวิทยาการคำนวณ ได้เรียนช่วงมหาวิทยาลัย แต่เด็กยุคนี้เริ่มเรียน เรียนหลักการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ 7 ขวบกันแล้ว วิชา วิทยาการคำนวณ นี้สอนเด็กตั้งแต่ประถม ถึงระดับมัธยม ถือว่าเป็นหลักสูตรบังคับอยู่ในสาระเทคโนโลยี

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้และมี

“ทักษะการคิดเชิงคำนวณ” หรือต่างประเทศ เรียกว่า (Computational Thinking) เริ่มสอน ป.1 ป.4 ม.1 ม.4 เเล้วในพฤษภาคมปี 2561

สำคัญคือ วิชานี้ไม่ได้สอนให้เด็กทุกคนกลายเป็น “โปรแกรมเมอร์” แต่สอนให้คิดเป็น และสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณ ได้กับทุกสาขาอาชีพ อีกทั้งเนื้อหาคอมพิวเตอร์หรือ การเขียนโปรแกรม ถือว่าเป็นเพียงแค่ 1 ใน 3 ของวิทยาการคำนวณเท่านั้น

ซึ่งไม่ว่าจะเรียนเก่งไม่เก่ง ก็สามารถจำจำ Concept การคิดแบบ (Computational Thinking) การคิดเชิงคำนวณ นำไปใช้ได้ ในชีวิตประจำวันทั่วไปทั้งเรื่องเรียนและเขียนโปรแกรม

เทคนิคการจำ Concept การคิดเชิงคำนวณ ง่ายๆ ด้วย กฎ 3 “ร” ประกอบไปด้วย

  • รู้จักคิดก่อนลงมือทำ
  • รู้จักวางแผน
  • รู้จักวิเคราะห์ปัญหา

ดังนั้นต้องการฝึกฝน การเขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง “มีระบบระเบียบ” จึงต้องฝึกและปฏิบัติตามขั้นตอน และ ฝึกให้เป็นนิสัยที่ดี วิชานี้ไม่ได้ทำให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ ติดเกม หรือโลกโซเชียล เพราะหัวใจหลักสูตรต้องการ ? ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และ รู้เท่าทันเทคโนโลยี? หัวใจของวิชานี้คือ พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ที่มี 4 องค์ประกอบสำคัญ

  1. การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition)
  2. การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)
  3. การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
  4. ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)

สำหรับพ่อ-เเม่ ผู้ปกครองจะช่วยลูกเตรียมตัวได้อย่างไร?

  • ป.1 เน้นในเรื่องของการคิดและแก้ปัญหา
  • ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์มากนัก
  • ป.4 เริ่มเรียน block programming ด้วยการใช้ scratch
  • ม.ต้น ถึงเริ่มมีการใช้ภาษาอย่าง python ในระดับพื้นฐานที่ไม่ยากและซับซ้อน
  • ม.ปลาย จะเน้นการทำการประยุกต์ใช้ต่อยอดภาษา python เพื่อนำไปใช้ในกับโครงานวิชาอื่นๆ

กล่าวสรุปแล้ววิชา “วิทยาการคำนวณ” คือ คิดแบบ (Computational Thinking) คือ การสอนเด็กให้คิดเป็นระบบและสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณได้กับทุกสาขาอาชีพ และไม่ได้ออกแบบมาให้ลูกยิ่งติดหน้าจอจะช่วยให้ท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และเป็นผู้สั่งงานคอมพิวเตอร์ มากกว่าถูกคอมพิวเตอร์ควบคุม

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding