รู้หรือไม่? อาชีพหมอก็คล้ายกับโปรแกรมเมอร์นะการพัฒนาการแพทย์ด้วยศาสตร์ไอที เช่น การเขียนโปรแกรมข้อมูลหรือแม้กระทั่งใช้ AI ทำอย่างไร ตั้งต้นจากจุดไหนก่อนอื่นต้องมารู้จัก Health Informatics ว่าคืออะไร
หมอเเละโปรเเกรมเมอร์ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและ AI ได้อย่างไร
บทสัมภาษณ์จาก คุณไผ่-ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ คุณหมอผู้หลงใหล เรื่องไอที ดีกรีนักศึกษาแพทย์ปริญญาเอก สาขา Health Informatics มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กิน (John Hopkins University)
*ทำไมคุณถึงเลือกเรียนต่อในสาขา Health Informatics หลังผมเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ มหาลัยสงขลานครินทร์ หมอคนอื่นๆ เขาไปเรียนต่อเฉพาะทางกันเช่น เป็นหมอเด็กหรือหมอผ่าตัด
แต่ส่วนตัวผมชอบพวกเทคโนโลยี เขียนโปรแกรม ชอบอ่านข่าวหรือหนังสือพวกไอที ผมจึงมองหาวิชาเรียนเกี่ยวกับด้านนี้ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับการแพทย์ได้ อ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ได้ที่ : https://becommon.co/world/thai-health-informatic/
รู้หรือไม่ “อาชีพหมอ” ก็คล้ายกับ “โปรแกรมเมอร์”
คำว่า “หมอ”
คือ อาชีพที่ถูกใช้เรียกบุคคลซึ่งมีความรู้ ทรงภูมิปัญญาหรือผู้รักษาโรคต่างๆ แก่ผู้เจ็บป่วยมีความรู้ด้านการรักษาที่เชี่่ยวชาญแต่ละด้านอย่างพิเศษ เเละเลือกทางรักษาที่ดีทีสุดให้กับคนไข้
คำว่า “โปรเเกรมเมอร์”
คือ อาชีพเขียนโปรเเกรมเเละเขียนโปรเเกรมตามที่ออกเเบบได้วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เเก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ความเหมือน vs เเตกต่าง
หมอต้อง มีความรอบคอบ เเละต้องไม่พลาดในการตรวจ
1.หมอต้องเรียนหนัก 6-8 ปี เพื่อที่จบจาก เเพทย์ฝึกหัด > เเพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์ศัลยกรรม, แพทย์กระดูกและข้อหรือทันตแพทย์ เป็นต้น
2.หมอต้องเอาใจใส่คนไข้ เเละต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจโรคที่คนไข้กำลังเป็นอยู่คืออะไรเเละรักษายังไง
3.เนื่องจากโปรแกรมเมอร์คือคนสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้เรา หรือที่เรียกว่า Coding การเขียนโปรแกรมเลยต้องใช้ภาษาที่เฉพาะในวิชาชีพของตนเอง เช่น ภาษาไพทอน (Python) ภาษาจาวา (Java) เป็นต้น
จะสังเกตว่า 2 อาชีพนี้หากลองเอาหลักคิดในการเรียนมาใช้กับชีวิตประจำวันคือถึงเป็นหมอเเละโปรเเกรมเมอร์อาทิ “ความรอบคอบ” “คิดเป็นระบบ”ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเเละทำงานร่วมกับเทคโนโลยี”
อยากจะบอกว่าทุกอาชีพมีความสำคัญเท่ากันหมดและอาชีพโปรแกรมเมอร์และหมอถึงจะมีความต่างบ้าง แต่ก็ยังมีความเหมือนในส่วนการเรียนเพื่อนำไปใช้ในการทำงานจริง
แต่สิ่งที่ทุกอาชีพเหมือนกันคือ ” ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยเฉพาะ Customer Journey และ เทคโนโลยีเพราะจากงานวิจัยใหม่ๆ คือการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบอาชีพของตนเองให้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเเละผู้ใช้งานมากที่สุด
✨บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)
- รู้จัก Pokémon Quest ผจญภัยโลก Block แบบโปเกม่อน (สาย Roblox ชอบแน่อน!!)
- สอนสร้าง Christmas Tree ด้วย Python แบบง่ายๆ 2 โปรเจค มาดูกันเลย!!
- สอนสร้างงานศิลปะทำภาพแบบ ArtCode แบบง่ายๆ ไม่กี่คลิก (ที่นี่!!)
- รู้จัก Google Arts & Culture เรียนรู้ภาพและศิลปะผ่านเกมมากมาย (เหมาะสำหรับเด็ก)