ก่อนอื่นเรามาเข้าใจ coding แบบ block-based ว่ามันคืออะไรทำไมมันถึงดีสำหรับเด็ก ? เพราะทั้ง Tynker และ Scratch จะนำเสนอการเรียนเขียนโปรแกรมแบบ Block ทั้ง 2 แบบเหมาะสำหรับเด็กเล็ก (Tynker มีทั้งเรียนแบบ Block และ Code) ช่วยให้เด็กๆ สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยการลากและวางบล็อกเป็นภาพต่อๆกันโดยไม่ต้องจัดการกับรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนใดๆ
Block Tynker กับ Scratch แตกต่างและเหมือนกันอย่างไร
Block trinket มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสะพานเชื่อมสู่ภาษา Python สำหรับนักเรียนที่มีประสบการณ์กับ Block ของ Tynker มากพอส่วนการเขียนโปรแกรมด้วย Block ของ Scratch นั้นนักเรียนจะเรียนด้วยบล็อกเข้าด้วยกันเหมือนกัน แต่ล่ะบล็อกมีคำสั่งที่คล้ายกับคำสั่งของ Python หลังจากเรียนพอเข้าใจแล้วสามารถต่อยอดนำแนวคิดหรือ logic ไปรวมกับการเขียนโปรแกรมด้วย python เข้าด้วยกันนักเรียนจะสามารถดูโค้ด Python และทำการเชื่อมต่อระหว่างรูปร่างบล็อกที่คุ้นเคยและโค้ดได้
การวิจัยพบว่าการเรียนเขียนโปรแกรมแบบบล็อกเป็นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ช่วยให้พวกเขาพัฒนาอัลกอริธึมและสร้างรากฐานสำหรับการศึกษา Computer science วิทยาการคอมพิวเตอร์ในภายหลัง
Block Coding จุดแข็งและข้อจำกัดของ Scratch แม้ว่าเด็กๆ จะเก่งขึ้นในการใช้ Block Coding แต่สำหรับ Project ที่ซับซ้อน แต่มันก็ไม่ใช่ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในแอปพลิเคชันในชีวิตจริง Scratch ไม่มีบทเรียนการเขียนโปรแกรมแบบข้อความหรือการเขียนเป็น code
สำหรับเด็กที่เริ่มใช้ Scratch พ่อแม่และครูควรสนับสนุนให้พวกเขาสำรวจภาษาการเขียนโปรแกรมแบบการเขียน เช่น Python หรือ JavaScript เพิ่มเติมในระดับถัดไปแต่การเริ่มเรียนจาก Block Coding ตั้งแต่เนินนั้นจะทำให้เด็กเกิดกระบวน Logic การคิดไปต่อยอดในภาษาอื่นๆ ได้อย่างไม่ยากเลย
ส่วน Tynker เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้การเขียนโค้ดที่สมบูรณ์ซึ่งมีคุณสมบัติมากกว่า Scratch มีเส้นทางการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 5 ถึง 17 ปี โดยเริ่มจากการเขียนโค้ดแบบบล็อก block และสามารถก้าวหน้าในการเขียนโปรแกรม เช่น Python, JavaScript ได้ไม่อยากเลยภายในระบบของ Tynker เอง
ส่วน Scratch เป็นแพลตฟอร์มการ Coding ที่ฟรีที่มอบไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ มากมายให้กับเด็กๆสอนและผู้ปกครองเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นใช้สร้าง เกม , อนิเมชั่น , วาดภาพ และอื่นๆ ได้อีกมากมาย หากสนใจสามารถลองเข้าไปอ่านในบทความนี้ได้เลยค่ะว่า Scratch นั้นสามารถทำอะไรได้มากขนาดไหน
สำหรับในมุมมองของ Codekids แล้ว ทั้ง 2 โปรแกรมต่างนำเสนอการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ทั้งคู่ Tynker จะทำอะไรได้เยอะและมากกว่า Scratch เช่น สอนทำเกม Minecraft ถึงขั้นเปิด Server เองเลยก็ยังมี แต่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนรู้ที่สูงขึ้น เพราะมันฟรีแค่ 20 เกมพื้นฐานเท่านั้น แต่มีระบบ มีการสอนเป็น Section ที่ชัดเจนทำให้เด็กๆสามารถเรียนตามได้เป็นระดับๆไป ส่วน Scratch ทุกอย่างจะฟรีแบบ 100% จากทีมงาน MIT ของ google สามารถเรียนได้อย่างอิสระ เช่น อยากสร้างเกม อยากวาดภาพ หรือการ์ตูนก็สามารถทำได้หมด แต่ข้อเสียจะคือ ระบบการเรียนรู้เองที่ไม่ค่อยเป็นระบบระเบียบเหมือนระบบของ Tynker
แต่ Tynker และ Scratch มันต่างกันยังไงล่ะ บทความนี้จะช่วยให้คุณผู้ปกครองเลือกและเห็นภาพมาขึ้นตามตารางนี้เลยค่ะ
คุณสมบัติ | Tynker | Scratch |
ค่าใช้จ่าย | ฟรี & มีค่าใช้จ่าย | ฟรี |
แอพมือถือ | มีทั้ง iOS และ Android | มีทั้ง iOS และ Android |
การเขียนโปรแกรมสำหรับมือใหม่ | เหมาะสำหรับ 5 ขวบขึ้นไป | เหมาะสำหรับ 7 ขวบขึ้นไป |
เส้นทางการเรียนรู้ | ตามอายุและระดับฝีมือ เด็ก ๆ เริ่มต้นด้วย บล็อกและความคืบหน้าในการเขียนโปรแกรม | ตามโปรเจ็กต์ที่เด็ก ๆ สนใจ เช่น เกม วาดภาพ อนิเมชั่น ยังคงสร้างโปรเจ็กต์ขั้นสูงด้วยบล็อกพิเศษ |
การเขียนโค้ด | Python,JavaScript,HTML,CSS | ฺBlock-based coding |
การทำงานรวมฮาร์ดแวร์และหุ่นยนต์ | – Lego WeDo 2.0 – Parrot mini drones – Micro:bit | – Lego WeDo 2.0 – Microphone – Webcam – Joystick – Arduino Board |
สรุปแล้ว Tynker และ Scratch มีอะไรที่เหมือนกัน?
- การเขียนโปรแกรมแบบบล็อก:ทั้ง Tynker และ Scratch มีบล็อกการ Coding ในเวอร์ชันของตัวเอง
- ชุมชนในการเรียนรู้ : นักเรียนสามารถแบ่งปันผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขากับชุมชนออนไลน์
- Hour of codes : นักเรียนควรใช้เวลาชั่วโมงแห่งการท้าทายโค้ดเพื่อสนุกและค้นพบความรักในการเขียนโค้ด
- STEM : ทั้งสองแพลตฟอร์มสนับสนุนการศึกษา STEM โดยบทเรียนและโปรเจ็กต์ใน Studio ของเด็กๆเอง
- แนวคิดการเรียนรู้เขียนโปรแกรม : ทั้งสองแพลตฟอร์มมีบทเรียนและโปรเจ็กต์ที่เพียงพอที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้แนวคิดการเขียนโปรแกรมการแก้ปัญหาและทักษะการวิเคราะห์ได้อย่างดีเยี่ยมเลย