อัลกอริทึม (Algorithm) เป็นเครื่องมือช่วยในการออกเเบบโปรเเกรม ช่วยให้เด็กๆ เขียนโปรเเกรมเเละใช้อธิบายวิธีการคิดของโปรเเกรมอย่างเป็นขั้นตอน
ในความเป็นจริงเเล้ว การดำเนินชีวิตปัจจุบันของมนุษย์ล้วนเกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมทั้งสิ้นให้ลองนึกดูว่ากิจกรรมของเเต่ล่ะคนล้วนมี ขั้นตอนที่มีการลำดับ กิจกรรมอย่างชัดเจนตั้งเเต่จุดเริ่มต้นจนไปสู่ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อาทิ ลองเปรียบเทียบดูว่าอัลกอริทึมเหมือนกับตำราอาหารที่สื่อความหมายว่าใครก็ตามเมื่อได้ปฎิบัติตามขั้นตอนการปรุงอาหารที่เเนะนำก็จะได้อาหารปรุงสำเร็จตามต้องการ
ยกตัวอย่าง : อัลกอริทัมการปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้พร้อมเสิร์ฟ
มี 7 ขั้นตอน
1.) จัดเตรียมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2.) ต้มน้ำสะอาดให้เดือด
3.) เเกะซองเเล้วนำบะหมี่ใส่ลงในชาม
4.) ฉีกซองเครื่องปรุงใส่ลงในชาม
5.) เทน้ำให้เดือดลงในชามพอประมาณ
6.) ปิดฝาเเล้วรอประมาณ 3 นาที
7.) เปิดฝาเเล้วรับประทานได้ทันที
เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนก็จะได้บะหมี่พร้อมเสิร์ฟได้ทันที เเต่ก็ยังสามารถทำบะหมี่ที่
ต้มเกิน 3 นาที เป็น 5 นาทีทานก็ได้
นั่นหมายความว่า อัลกอริทึม ที่ใช้สำหรับการเเก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ก็สามารถมีหลายวิธีด้วยเช่นกัน ตามความคิดเเละไอเดียของเด็กเเต่ล่ะคนไป
ลองมาดูให้เห็นภาพกันอีกตัวอย่างกันค่ะ เช่น การแปรงฟัน ความจริงเด็กต้องเรียน ป.6 แต่เราสามารถสอนลูกได้ก่อนที่จะเรียนจริงเพราะยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น
“ใครว่าโค้ดดิ้งคือเรื่องยาก“
“เรามาสอนลูกเขียนโปรแกรมง่ายๆที่บ้านกันดีกว่า“
1.เริ่มถามเด็กๆว่า ถ้าเราต้องแปรงฟันตอนเช้า
เราต้องเตรียมอะไรบ้างเด็กๆอาจจะตอบว่า (โดยที่เด็กอาจจะนึกอะไรก่อนก็พูดแบบนั้นๆไม่มีผิดถูกนะคะ ให้เค้าบอกมาให้หมดเลย แล้วเราเองเขียนตามที่เค้าบอก ) แล้วค่อยเรียงลำดับจากเท่าไหร่ไปเท่าไหรดังภาพค่ะ
เช่น แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, แก้วน้ำ พับผ้าห่ม ตื่นนอน แล้วแต่เด็กว่าเค้าจะเสนออะไร แล้วเราค่อยถามเด็กๆว่า ต้องเริ่มความสำคัญอะไรก่อน ลองดูจากตัวอย่างค่ะ
2.ทำความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์
องค์ประกอบมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
– input การใส่ค่า
– output การแสดงผล
– process การประมวลผล
– decision การตัดสินใจ
– flow เส้นการเดินทางที่ต้องมีแค่เส้นเดียว
อธิบายว่าเป้าหมายของเราคือเราต้องเริ่มแปรงฟัน และจุดจบคือแปรงฟันเสร็จแล้วแล้วลองให้ลูกๆอ่านสัญลักษณ์ด้านบน
3. เริ่มเข้าสู่กระบวนการเขียนอัลกอริทึม
เราอาจจะคิดว่ามันยากแต่ความจริงมันไม่ยากขนาดนั้น ความจริงต้องเขียนยาวกว่านี้ แต่คุณอ้อมบอกว่าพื้นที่ไม่พอ เริ่มจากแปรงฟันหน้าใช่หรือไม่ ?
yes => แปรงฟันหน้า ถ้าใช่ให้แปรงฟันหน้า
no => แปรงฟันซ้าย ? ถ้าไม่ใช่ให้แปรงฟันโดยไปทางด้านซ้าย
yes => แปรงฟันซ้าย ถ้าใช่ให้เริ่มแปรงฟันด้านซ้าย
no => แปรงฟันขวา ? ถ้าไม่ใช่ให้เปลี่ยนไปทางด้านขวา
ลองดูตัวอย่างที่ทางเราเขียนให้นะคะและลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เริ่มจากเรื่องเล็กๆง่ายๆ
สิ่งที่น้องจะได้คือ
1. ฝึกเรื่องการตัดสินใจว่าทำแล้วจะได้อะไร ไม่ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร
2 เป้าหมาย ทุกครั้งที่เราจะทำอะไร เราต้องมีเป้าหมาย และมีหทางในการทำ
3. ทุกผลของการกระทำต้องมีเหตุประกอบเสมอ เช่น เราจะแปรงฟันซ้ายได้ก็ต่อเมื่อเราเขียนว่าเราแปรงฟันซ้าย ถ้าแปรงฟันขวาจะเกิด Error
“เหตุผลทุกครั้งที่ลูกตัดสินใจจะซื้ออะไร เราสามารถสื่อสารกับลูกได้ด้วยการใช้ Flow Chart ในการตัดสินใจค่ะ ”
ทุกอย่างนี้เกิดจากการใช้ Computational Thinking การคิดเป็นระบบนั่นเองค่ะ
สำหรับ “วิทยาการคำนวน” หรือ “อัลกอริทึม” ถือเป็นสิ่งสำคัญสิ่งเเรกจะสอนกับเด็กให้รู้จักคิดนำไอเดียมาเรียงเป็นขั้นตอน เพื่อเเก้ไขปัญหา ต่างๆ ในชีวิตประจำของเด็กลองนำไปใช้สอนเด็กหรือลูกของคุณดูกันนะคะ
✨บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)
- รู้จัก Pokémon Quest ผจญภัยโลก Block แบบโปเกม่อน (สาย Roblox ชอบแน่อน!!)
- สอนสร้าง Christmas Tree ด้วย Python แบบง่ายๆ 2 โปรเจค มาดูกันเลย!!
- สอนสร้างงานศิลปะทำภาพแบบ ArtCode แบบง่ายๆ ไม่กี่คลิก (ที่นี่!!)
- รู้จัก Google Arts & Culture เรียนรู้ภาพและศิลปะผ่านเกมมากมาย (เหมาะสำหรับเด็ก)