Google Effect เป็นนิยามบ่งบอกถึง อาการของสมองที่ไม่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆในอดีตได้เพราะมั่นใจว่าข้อมูลเหล่านั้นสามารถค้นหาเจอด้วย Google เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการศึกษาอย่างจริงจังมา ตั้งแต่ปี 2011 แล้วในวิทยานิพนธ์หัวข้อ Google Effects on Memory: Cognitive Consequences of Having Information at Our Fingertips (ผลกระทบจาก Google ที่มีต่อความจำ: ผลลัพธ์จากกระบวนการคิดของการได้รับข้อมูลผ่านปลายนิ้ว) โดย 3 นักศึกษา Betsy Sparrow, Jenny Liu และ Daniel Wegner ชาวสหรัฐฯ ปัญหาคือทุกวันนี้ชาวเน็ตล้วนได้รับผลกระทบจาก Google Effect โดยไม่รู้ตัว
สังเกตดูว่าตอนนี้เด็กๆกำลังพึ่งพา Google มากเกินไปหรือเปล่า?
มีผลวิจัยพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีภาวะความจำสั้นจากการใช้อินเทอร์เน็ต
เช่น คำบางคำเด็กๆ อาจจะไม่จำว่ามันเขียนอย่างไรให้ถูกเเต่ไปพิมพ์ใส่ Google ให้ปรับ
ความถูกต้องให้บางเรื่องก็ไม่จำเพราะถ้าอยากรู้ก็กด Google เอา
หรืออีกกรณี คือ การใช้ในการเรียนถึงอินเทอร์เน็ตจะช่วยค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
แต่ความสามารถในการจำข้อมูลเหล่านั้นจะด้อยกว่าการหาเจอจากหนังสือ ซึ่งแน่นอนว่าในการทำข้อสอบคงไม่สามารถใช้ Google ได้หรือแม้แต่ในชีวิตการทำงานการพรีเซนต์ข้อมูลที่ต้องจดจำรายละเอียดมากๆ อาจกลายเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสกว่าที่คิด
การหาอะไรก็เจอและเจอในทันทีอาจทำให้เด็กเกิดการ ‘เคยตัว’ และมัวแต่พึ่งพา
มันมากเกินไปจนละเลยการใช้ความสามารถที่มีอยู่ของเราอย่าง ‘การจดจำ’ จนทำให้เกิด
ภาวะ ‘สมองเสื่อม’ แบบถดถอยอย่างช้าๆ ทำให้อาจไม่เกิดทักษะพยายามสร้างความรู้
ของตัวเองจำตอนสมัยที่เราเปิดพจนุกรมหาศัพท์กันได้ไหมค่ะหรือต้องอ่านหนังสือเป็นเล่ม
เพื่อหาข้อมูล ส่วนที่ทำตอนการมาทำรายงานการทำแบบนี้เราจะได้สมองเราจะเกิดการข้อมูลเหล่านั้นเป็นความจำระยะยาว (Long-term Memory) ขึ้นมาทันที
แต่ต้องยอมรับว่าการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ
การดึงข้อมูลกลับมาใช้ในหลายกรณีที่มันมีประสิทธิภาพและสะดวกกว่าการจำด้วยสมองเราเอง เช่น กรณีของเบอร์โทรที่ไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทหลายร้อยเบอร์ หรือการใช้
Password Manager ช่วยจำรหัสผ่านที่เราจงใจตั้งไว้ยากๆ
แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลืมที่จะลำดับ
ความสำคัญอะไร
ควรจด อะไรที่ควรแบ่งมาให้สมองจำ
ยกตัวอย่างเช่น รหัสผ่านง่ายๆ
หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร
หรือคำศัพท์เดิมๆก็ควรพยายามนึกความหมาย
ให้ออกก่อนจะ Google หาคำตอบซ้ำทุกครั้ง
3 วิธีป้องกันที่ผู้ปกครองทำได้ง่ายๆ คือ
1.อ่านหนังสือและสรุปสิ่งที่อ่านเขียนบันทึกประจำวัน
หรือ บันทึกความรู้ที่ได้ในวันนั้น
2.สร้างความท้าทายเช่นเกมที่ต้องอาศัความจำ
เป็นหลัก เช่น เกมใบ้คำ บอร์ดเกมหรือการ์ด
3.ตั้งโจทย์ ให้เด็กลองไปศึกษา ค้นคว้า ทั้งด้วยให้
ใช้ข้อมูลจาก 2 ฝั่งคือ อินเทอร์เน็ตและหนังสือ
ให้เกิดความบลาเลนจกัน
ห้ามบังคับเด็กๆ เป็นอันขาดแต่ให้ใช้วิธีค่อยให้เขาได้เรียนรู้การหาความนอกจอหรืออินเทอร์เน็ตและเราอาจจะให้รางวัลเขาเป็นสิ่งตอบแทนก็ได้พอเขาทำได้นานๆ มันก็จะเกิดการสร้างเป็นิสัยเหมือนสมัยเราเด็กที่ฝึกการออมเงินเพราะยังไงแล้วเทคโนโลยี Google ก็เป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้อยู่ดีมีแต่ต้องให้เด็กๆไม่พักพามันมากเกินไปและอยู่กับหน้าจอมากเกิด
.
เปรียบเสหมือนว่า Google คือห้องสมุดใหม่ที่เราเก็บรวบร่วมหนังสือและแหล่งความรู้จากทั่วโลกเอาไว้แต่สุดท้ายเราก็ต้องใช้ความเข้าใจในการทำงานอยู่ดีส่วนที่ Google ให้เราไม่ได้ คือความเข้าใจในระบบ Google เป็นแค่ เครื่องมือไว้โน๊ตความจำเท่านั้น
เอกสารรายละเอียดของงานวิจัย : https://scholar.harvard.edu/…/sparrow_et_al._2011.pdf
ข้อมูลข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.tiscowealth.com/tru…/issue-50/globaltrend.html