รู้จัก Digital Footprints ป้องกันร่องรอย จากการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

ยุค 5G และยุคแห่งไอที เราที่เป็นผู้ปกครองควรตะหนักถึงเรื่อง Digital Footprints เอามากๆเลยนะคะ เพราะ การใช้งานโลกออนไลน์ในปัจจุบันนับวันยิ่งมีความเชื่อมโยงกลมกลืนกับโลกความเป็นจริง อินกับข้อมูลบางอย่างมากเกินไปจนเกินการยั่งคิด และอาจสร้างข้อมูลจากพฤติกรรมหรือ การกระทำที่อยู่บนโลกออนไลน์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโลกความเป็นจริงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลเหล่านั้นยังเปรียบเสมือนร่องรอยหลักฐานจากการใช้งาน
ที่จะคงอยู่และใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมย้อนหลังของผู้ให้ข้อมูลได้

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

ข้อมูลพวกนี้อาจจะมาทำร้ายเด็กๆ ในอนาคตก็เป็นไปได้หากเราไม่ระวังตั้งแต่เนินๆ ดังนั้นเราต้องปลูกฝังเรื่องนี้ให้เขาตั้งแต่เด็กๆ เพื่อให้เข้ารู้เท่าทันสื่อและป้องกันตัวเองในระดับหนึ่ง
ร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprints)เป็นร่องรอยการกระทำต่างๆ ที่ฝังในเน็ตไว้และติดตามได้ เมื่อผู้ใช้งานได้ใช้อุปกรณ์หรืออินเทอร์เน็ตกระทำการใดๆ บนโลกดิจิทัล เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนแท็บเล็ต รอยเท้าดิจิทัลจะบันทึกข้อมูลผู้ใช้งานประวัติส่วนตัว รวมถึงสามารถบอกสิ่งที่เรากำลังสนใจชื่นชอบ

ร่องรอยดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.Active Digital Footprints เป็นร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้งานเจตนาบันทึกไว้ในโลกออนไลน์
เช่น ข้อความที่ส่งถึงผู้อื่น, เนื้อหาที่โพสต์ในสังคมออนไลน์,การส่งอีเมล์, การกดไลค์, การกดแชร์หรือการบอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ที่เคยอยู่หรือจะไป

2.Passive Digital Footprints เป็นร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้งานไม่มีเจตนาบันทึกไว้ในโลกออนไลน์เช่น ประวัติการใช้งานเว็บไซต์, ประวัติการค้นหาบนโลกออนไลน์, ข้อมูลการซื้อสินค้าออนไลน์,หมายเลข IP Address หรือ ตำแหน่งจากการใช้งานระบบ GPS

ผลกระทบจากร่องรอยดิจิทัล
– มีผลต่อความเป็นส่วนตัว เนื่องจากสามารถใช้ในการติดตามร่องรอย แม้จะปิดการใช้งาน
จะปิดเว็บไซต์หรือออกจากระบบไปแล้วผู้อื่นก็สามารถทำสามารถเห็นร่องรอยดิจิทัลเหล่านี้ได้

-บริษัทหรือหน่วยงาน สามารถนำข้อมูลจากร่องรอยดิจิทัลของเราไปใช้ประโยชน์ทางการค้า
ผ่านการสังเกตร่องรอยดิจิทัล ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ

-ร่องรอยดิจิทัลบางอย่าง มีการจัดเก็บไว้
โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถจัดการหรือทำให้หายไปจากโลกไซเบอร์ไปได้ อาจส่งผล
กระทบในอนาคต หากมีการติดตามร่องรอย เช่น แคบรูป หรือ ข้อความ แต่สิ่งสำคัญ คือเราต้องสอนให้เด็กๆเขาได้ คือ “รู้จักกฏหมาย พรบ. คอมพิวเตอร์” ไว้ เพราะมันอาจจะเป็นตัวช่วยเบรคเขาไม่ให้เราผิดกฏหมาย และ ปกกันไม่ให้มีการทิ้งร่องรอยดิจิทัลที่ไม่ดีไว้ให้กับตัวเอง

สื่อสังคม, Facebook, Twitter, Instagram, ไอคอน, การตลาด


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ยกตัวอย่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ เช่น 5 เรื่องหลักๆ ที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์และบทลงโทษข้อห้ามสำคัญที่ชาวเน็ตหรือคนที่ใช้งานอุปกรณ์และข้อมูล
ผ่านโลกออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง

1.เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ เช่น ดักรับข้อมูล ของคนอื่น
จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2.แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ
ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน
เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

4.กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.คอม โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

5.นำข้อมูลที่ผิด พ.ร.บ. เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูล
ที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
-โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง
(อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
– โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
– โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
– โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
– เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น
กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding