Coding เรียนเขียนโค้ดในแต่ละช่วงวัย 4-18 ปีมีอะไรบ้างไปดู!!!

มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ

  • ทำไมเด็กต้องเรียน Coding ในอีกอนาคตข้างหน้าเมื่อ A.I. และ 5G เข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลายประเทศทั่วโลกก็ตระหนักแล้วว่านอกจากภาษาในการสื่อสารแล้วภาษาคอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันโลกจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวทุกอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันจะกลายเป็นอุปกรณ์ IoT เศรษฐกิจเกือบทั้งโลกจะทำงานบนพื้นฐานของดิจิทัลเป็นหลักปัจจุบันตอนนี้ทางระบบการศึกษาได้นำหลักสูตรการเขียนโปรแกรมเพิ่มเข้าไปในบทเรียนเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ระดับ ประถม จนถึงมัยม (ปกติต้องเรียนปริญญาตรี)
.
  • เด็กวัย 4-7 ขวบ เน้นช่วยการเรียนรู้ของสมองและพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆเรียกว่ากิจกรรม Unplugged (อันปลัก)
.
  • เด็กวัย 10-12 ขวบ เริ่มเรียนเขียนโค้ดเบื้องต้นจากโปรแกรม Python,Scratch หรือ Micro:bit ซึ่งจะมีเป็นการเรียนการคิดลําดับคำสั่งซึ่งจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การเขียน (Flow chart)
.
  • เด็กวัย 13-15 ขวบ เด็กจะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมากขึ้นมีความรู้มากพอที่จะนํามาเรียนเขียนโค้ดในระดับที่สูงขึ้นได้อาจยังใช้โปรแกรม Scratch ในระดับที่ซับซ้อนขึ้นหรือเริ่มเรียนภาษา Python ต่อยอดไปในสายที่สนใจได้เช่น เรียนทําเกม เรียนเพื่อออกแบบแอปพลิเคชัน ฯลฯ

บทความนี้ CodeKids เรามีความตั้งใจมาแนะนำแนวทางในการเรียนเขียนโค้ดของเด็กๆ ในแต่ละช่วงวัยพร้อมทั้งคำศัพท์ที่ต้องรู้และโปรแกรมที่ต้องเรียนตามโครงสร้างสมองเด็กค่ะ โดยการเรียนเขียนโค้ดที่เหมาะแต่ละช่วงวัยหลายคำถามว่าลูกต้องเรียนอะไรดีและลูกต้องเริ่มเรียนจากตรงไหนไปตรงไหน ตามโครงสร้างสมองเด็กค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจกันก่อนว่าโค้ดดิ้ง (Coding) ไม่ได้จำกัดความเเค่เขียนโปรเเกรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ผ่านมาเราได้ติดตามเรื่องโค้ดดิ้งกันมาบ้างแล้วเเละพอทราบกันมาบ้าง? ว่ามีหลายประเทศที่ได้บรรจุเรื่อง Coding เข้าไปในหลักสูตรให้เด็กเรียนเรียบร้อยแล้วประเทศญี่ปุ่นกำหนดวิชา Coding เป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนการสอนของเด็กประถม โดยบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน “วิชาบังคับ”ในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศตั้งแต่ Grade 5 ซึ่งเทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เริ่มเรียนตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยเนื้อหาจะปูพื้นฐานความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและสอนการเขียน Coding เบื้องต้น

ประเทศไทยเองทางกระทรวงศึกษาธิการโดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช (รมช.) แถลงนโยบายการศึกษาเรื่องเด็กไทยทุกคนต้องเรียน”โค้ดดิ้ง (Coding) โดยใช้คำว่า “Coding for all” เพื่อเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทักษะภาษาใหม่ที่จะใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์

โดยแบ่งเราจะแบ่ง Coding ให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัยแบ่งเป็น 4 ช่วงดังนี้

ช่วงอายุวัย 4-6 ขวบ เน้นกิจกรรม Unplugged

สื่อการสอนโค้ดดิ้งสําหรับวัยนี้มักเน้นช่วยการเรียนรู้ของสมองและพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆเรียกว่ากิจกรรม Unplugged (อันปลั๊ก) โดยใช้อุปกรณ์อื่นๆมาแทน เช่น การ์ดเกม หรือบอร์ดเกมต่างๆที่สอนแนวคิดเรื่องโค้ดดิ้งหรือการเล่นกิจกรรมนอกสถานที่เป็นต้นหรือเรียนแอปพลิเคชันเกมที่เกี่ยวกับโค้ดดิ้งได้บางตัว

ทักษะที่ต้องมี

– กล้ามเนื้อนิ้วมือ
– กล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ 
– ทักษะการคิด Logic, Sequencing
– ทักษะ Coding Blocky แบบจินตนาการ Creative

โปรแกรมที่ต้องเรียน

  • Code spark
  • Scratch JR.
  • Code.org

หลักสูตรที่เหมาะกับน้องคือ

ช่วงอายุวัย 7-9 ขวบ ปูพื้นฐานเรื่อง Coding

ทุกวันนี้เด็กหลายคนก็ถูกปล่อยให้อยู่กับเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้วเพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้ลูกเล่นอยู่แต่หน้าจอเราจึงแนะนำว่าพ่อแม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ให้เขาตั้งแต่เด็กๆโดยให้นำสิ่งที่น้องๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อยอดสู่อนาคตได้

ทักษะที่ต้องมี

  • Unplugged Coding
  • เงื่อนไข if, else, loop
  • คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
  • Coding แบบ Blocky

โปรแกรมที่ต้องเรียน

  • Code.org
  • Code spark
  • Scratch

หลักสูตรที่เหมาะกับน้องคือ

ช่วงอายุวัย 10-12 ขวบ เรียนโค้ดดิ้งเบื้องต้น

เนื่องจากผ่านวัย 7 ขวบ (วัยที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง) จึงอยากเรียนรู้การอยู่ร่วมกับสังคมหรือเพื่อนดังนั้นเด็กวัยนี้ สามารถทํากิจกรรมเป็นกลุ่มได้ เช่น เล่นบอร์ดเกมที่เกี่ยวกับโค้ดดิ้งหรือเริ่มเรียนเขียนโค้ดเบื้องต้นจาก Scratch และ Python หรือ mirco:bit ซึ่งจะมีรายละเอียดในบทถัดๆเพื่อเตรียมตัวเรียนโค้ดดิ้งในระดับที่สูงขึ้น

ทักษะที่ต้องมี

  • Unplugged Coding
  • Flow chart
  • Coding แบบ Blocky
  • Coding แบบ Text Coding
  • เงื่อนไขง่าย if, else ที่ยากขึ้นและซับซ้อนขึ้น

โปรแกรมที่ต้องเรียน

  • Scratch
  • Code Monkey
  • Python

หลักสูตรที่เหมาะกับน้องคือ

ช่วงอายุวัย 13-15 ขวบ เรียนโค้ดดิ้งในระดับที่สูงขึ้น

เด็กๆ จะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมากขึ้นมีความรู้มากพอที่จะนํามาเรียนเขียนโค้ดในระดับที่สูงขึ้นได้อาจยังใช้โปรแกรม Scratch ในระดับที่ซับซ้อนขึ้นหรือเริ่มเรียนภาษา Pythonในวัยนี้อาจเริ่มรู้ว่าตัวเองอยากเรียน อะไรต่อก็สามารถเรียนต่อยอดไปในสายที่สนใจได้ เช่น เรียนทําเกม หรือ เรียนเพื่อออกแบบแอปพลิเคชัน ฯลฯ

ทักษะที่ต้องมี

  • Microsoft excel
  • Function

โปรแกรมที่ต้องเรียน

  • Python
  • Code Combat
  • Swift playground
  • MIT app
  • Thunk able

หลักสูตรที่เหมาะกับน้องคือ

ช่วงอายุวัย 16-18 ขวบ เรียนโค้ดดิ้งเพื่ออนาคตของตัวเอง

เนื่องจากการเขียนโปรแกรมเป็นอาชีพที่ต้องการอย่างสูงเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถอย่างสูงไม่ว่าจะเป็น

– เทคโนโลยีการวิจัย

– นักเขียนโปแกรมในมือถือ

– การเรียนโปรแกรมสำหรับงานทางธุรกิจ

– การพัฒนาแอพสำหรับเรื่องเฉพาะทางต่างๆ เช่น App โรงพยาบาล

– การพัฒนาเกมส์

เพื่อให้น้องๆค้นหาตัวเองเจอและสามารถเลือกเข้าคณะเลือกอนาคตของตนเองได้ก่อนและพัฒนาทักษะนั้นให้เตรียมพร้อมกับอนาคต พรุ่งนี้เมื่อเราไปทำงานเราลองนับว่าใช้แอพหรือ Program Computer หรือ Application ไปกี่อัน ? ดังนั้นเทคโนโลยีเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกของเราทั้งหมดถูกขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ต้องการสำหรับงานในอนาคตการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ในอนาคตล้วนต้องการความสามารถในเขียน Coding (การโค้ดดิ้ง)

ทักษะที่ต้องมี

  • Algorithm
  • Text coding
  • Database
  • Data Science
  • Digital Literacy

โปรแกรมที่ต้องเรียน

  • Python
  • HTML, CSS
  • Hardware

หลักสูตรที่เหมาะกับน้องคือ

กล่าวโดยสรุปแล้ว

เรียกได้ว่าหลายประเทศทั่วโลกก็ตระหนักแล้วว่านอกจากภาษาในการสื่อสารแล้วภาษาคอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะในอนาคตโลกอันใกล้โลกจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว และทุกอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันจะกลายเป็นอุปกรณ์ IoTเศรษฐกิจเกือบทั้งโลกจะทำงานบนพื้นฐานของดิจิทัลเป็นหลัก

การศึกษาประเทศไทยเราเองก็ให้โค้ดดิ้ง (Coding) วิชาใหม่ที่ใส่เข้าไปในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้หรือ 8 กลุ่มวิชาที่เด็กทุกคนต้องเรียนเหมือนกัน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตรสมัยก่อนไม่มีสาระเทคโนโลยีมีแต่ ฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศจนเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการและ สสวท.ปรับหลักสูตรโดยเอาสาระเทคโนโลยีที่เดิมทีเคยอยู่ในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพโดยเพิ่มเข้ามาอยู่ในกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ กลุ่มสาระเทคโนโลยี ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.วิทยาการคำนวณ สำหรับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา

2.การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับชั้นมัธยมศึกษา

“วิทยาการคำนวณ มี Coding อยู่ในนั้น Coding

คือ 1 ใน 3 ของวิทยาการคำนวณ”

แนะนำบทความ : ส่องการศึกษา “โค้ดดิ้ง” เด็กในประเทศไทยเรียนอะไรบ้างในชั้นประถมศึกษา?

โดยกิจกรรมที่หนังสือหลักๆที่ในเล่มจะสอนเด็ก คือ

  • สอนให้ แก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การลองผิดลองถูก การเปรียบเทียบ
  • แสดงลำดับขึ้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาที่เป็นอัลกอรึทึมอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณะ หรือ ข้อความ
  • เขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์ หรือ สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ใช้เทคโนโลยี เรียกใช้และใช้มูลข้อมูลตามวัตถุประสงค์
  • ใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ดูแลแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

ถ้าหากท่านใดสนใจให้ลูกหรือเด็กเขียนโปรเเกรมเป็นและได้รับการเรียนรู้ Coding และ Digital literacy สามารถเริ่มได้ตั้งเเต่ 6 หรือ 7 ได้เลย ลอง Inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะหรือเว็บไซต์ Codekids นี้ได้เลย มีความรู้ด้านการเรียนรู้การเขียนโปรเเกรม สำหรับเด็กๆมากมาย https://www.codekids.co/blog/ ติดตามเราได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/codekidsTH/

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding