หัวใจหลักของ Coding (การโค้ดดิ้ง) คือ การเขียนสัญลักษณ์เพื่อบอกลําดับขั้นตอน ลําดับความคิด เพื่อสื่อสารให้เข้าใจกันอาทิ การแต่งเพลง วางลําดับตัวโน๊ตดนตรี การออกแบบท่าเต้น ลําดับท่าเต้น ท่ารํา การเขียนกลอน การเขียนแผนธุรกิจ (Business Model) ลําดับการวางแผน การเขียน (Flowchart) เป็นต้น
1.ต้อง Planning หมายถึง วางเเผน
วิธีการในการไปถึงเป้าหมายกระบวนการพิจารณาตัดสินใจ ในปัจจุบันว่าจะทำอะไร ทำโดยใคร และทำเพื่ออะไร สำหรับการปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ความสำคัญของการวางแผน การวางแผน เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจ ที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรม กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า
2.ต้อง Thinking หมายถึง คิด
การคิด สำหรับพัฒนานวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)และการคิดเเก้ไขปัญหา (Problems thinking) เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆ และนวัตกรรมอย่างมีระบบ
ความสำคัญของการคิดโดยมีหลักสำคัญ คือการเข้าใจความต้องการและปัญหาของเป้าหมายอย่างแท้จริง แล้วการระดมความคิดเพื่อค้นหาทางแก้ไข และการเรียนรู้และลงมือทำเพื่อสร้างบรรลุเป้าหมายและสร้างนวัตกรรมต่างๆ
3.ต้อง Logic หมายถึง คิดเเบบตรรกะ
ตรรกศาสตร์ (หรือตรรกวิทยา) (Logic) คือวิชาที่ศึกษาเพื่อแยกการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล ปัจจุบันเรียกว่าตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (Symbolic Logic) หรือตรรกศาสตร์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Logic)
ความสำคัญของการคิดเเบบตรรกะ มีความสำคัญมากไม่เพียงแต่ ในสาขาตรรกศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญทางเรขาคณิตของเซต ทฤษฎีของความน่าจะเป็น ตลอดจนสาขาสามารถนำต่อยอดใช้งานด้านอื่นๆ
4.ต้อง Problems Solving หมายถึง การเเก้ไขปัญหา
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่สร้างขึ้นมาเพื่อ “แก้ปัญหา” ให้กับพวกเราแต่คอมพิวเตอร์จะแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้ามันไม่รู้วิธีว่าจะแก้ยังไง จริงมั้ยค่ะ? การเขียนโปรแกรมก็เหมือนกับการสอนวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์
ความสำคัญของการเเก้ไขปัญหา นั่นแปลว่าหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมก็คือ..ศาสตร์แห่งการแก้ปัญหาในวิชาการเขียนโปรแกรมถ้าใครคิดว่าหัวใจ หลักของวิชานี้คือการ เขียนโค้ดละก็ ผิดแล้วล่ะคะ! นี่คือวิชาที่ว่าด้วยการ “การคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ”
รวมทั้งหมดนำมาคิด Algorithm เเละ นำไปใช้ในวิชาวิทยาการคำนวณ การเเต่งเพลง ก็คือการ Coding น่ะ เป็นการ Coding ในสมองเราการเขียน เเผนธุรกิจ ต่างๆ ที่ต้องใช้สมอง ต่างๆ
พวกนี้ใน คำนิยามเราจะเรียกว่า Coding ได้หมดการวางเเผนจัด Sequence เรียงลำดับความคิด แต่วิธีการแก้ปัญหาที่ต้องสอนในวิชาการเขียนโปรแกรมเราจะเรียกมันว่า Algorithm (อ่านว่า “อัลกอริทึม”) การแก้ปัญหาแบบเป็นขั้นตอนๆ เป็นสเต็ปๆ
ในทางเดียวกัน Coding ก็ใกล้เคียงคือการสร้างสัญลักษณ์ ขั้นตอนอะไรบางอย่างให้สามารถ สามารถเเก้ไขปัญหาบางอย่างได้